เตรียมพร้อม​ไป​ตรวจ​สายตา

ACUVUE
Woman in white shirt smiling brightly

เตรียม​ข้อมูล​พื้น​ฐาน​ไว้​ก่อน​คุณ​ไป

เมื่อ​คุณ​ทำ​การ​นัดหมาย​กับ​ร้าน​แว่น​ตา​เพื่อ​เข้า​รับ​การ​ตรวจวัด​สายตา​ ​อย่าง​ลืม​พูด​ถึง​สิ่ง​ต่อ​ไป​นี้​ ​เพื่อ​ให้​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ของ​คุณ​ตรวจ​สายตา​ได้​ดียิ่ง​ขึ้น

แจ้ง​ปัญหาด้าน​สายตา​ของ​คุณ

บอก​ปัญหา​เกี่ยว​กับ​การ​มอง​เห็น​ที่่​คุณ​มี​ ​พร้อม​ทั้ง​แจ้ง​ให้​ผู้​เชี่ยว​ชาญทราบ​ว่า​คุณ​ใส่​แว่น​หรือ​ใส่​คอนแทคเลนส์​อยู่​แล้ว​หรือ​ไม่​

แจ้ง​ว่า​ต้อง​การ​ตรวจวัด​สายตา​สำหรับ​คอนแทคเลนส์

แจ้ง​ให้​ผู้​เชี่ยว​ชาญทราบ​ว่า​คุณ​ต้อง​การ​ตรวจวัด​สายตา​สำหรับ​การ​ใส่​คอนแทคเลนส์​ ​เนื่อง​จาก​อาจ​จะ​มี​ขั้น​ตอน​ที่​แตก​ต่าง​กัน

สิ่ง​ที่​ควร​เตรียม​ไป

  1. คอนแทคเลนส์​หรือ​แว่น​ตา​ที่​คุณ​ใส่​อยู่​ ​(​ถ้า​มี​)
  2. แจ้ง​กับ​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ให้​ทราบ​หาก​คุณ​สามารถ​เบิก​สิทธิต่าง​ๆ​ ​กับ​บริษัท​หรือ​ประกัน​ของ​คุณ
  3. เตรียม​คำถาม​ไป​ให้​พร้อม​ ​หาก​คุณ​มี​ข้อสงสัย​เกี่ยว​กับ​สายตา​ ​หรือ​คำถาม​เกี่ยว​กับ​คอนแทคเลนส์​ ​คุณ​สามารถ​ถาม​กับ​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​ระหว่าง​การ​ตรวจ​เช่น​กัน

คำถาม​อาจ​ถาม​ได้

  • สุขภาพตา​ของ​ฉัน​เป็น​อย่าง​ไร​บ้าง
  • จาก​การ​ตรวจ​สุขภาพตา​พื้น​ฐาน​ของ​ที่​ร้าน​ ​ฉัน​มี​ความ​เสี่ยง​ต่อโรคตา​ใด​บ้าง​หรือ​ไม่
  • ค่า​สายตา​ของ​ฉัน​เป็น​อย่างไร
  • ค่า​สายตา​ของ​ฉัน​จะ​เปลี่ยน​ไป​อีก​ไหม
  • มี​วิธี​การ​แก้ไขปัญหา​การ​มอง​เห็น​ใด​บ้าง​สำหรับ​ฉัน
  • อะไร​จะ​ช่วย​ให้​มอง​เห็น​ได้​คม​ชัด​ ​แต่​ยัง​ทำกิจกรรม​ต่าง​ๆ​ ​ได้​อย่าง​คล่อง​ตัว
  • ข้อดี​ของ​คอนแทคเลนส์​และ​แว่น​ตา
  • มี​คำ​แนะนำ​ใน​การ​ใส่​คอนแทคเลนส์​อย่าง​ปลอดภัย​ไหม
  • มี​ข้อควร​ระวัง​เกี่ยว​กับ​การ​ใช้​คอนแทคเลนส์​ไหม

4​ ​ขั้น​ตอน​ของ​การ​วัด​สายตา​สำหรับ​คอนแทคเลนส์

  1. ตรวจ​สุขภาพตา
    ขั้น​ตอน​แรก​ ​ผู้​เชี่ยว​ชาญด้าน​สายตา​จะ​ตรวจ​ประวัติเกี่ยว​กับ​การ​มอง​เห็น​ของ​คุณ​ ​รวม​ถึง​ทำ​การ​ตรวจ​สุขภาพตาเบื้องต้น
  2. ตรวจ​ค่า​สายตา​และ​หาคอนแทคเลนส์ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ
    ขั้น​ตอน​ต่อ​มา​ ​ผู้​เชี่ยว​ชาญด้าน​สายตา​จะ​ตรวจวัด​ค่า​สายตา​ของ​คุณ​ ​และ​หา​ว่า​คอนแทคเลนส์​รุ่น​ใด​เหมาะ​กับ​ไลฟ์สไตล์ของคุณ​มาก​ที่​สุด
  3. ทดลอง​ใส่​คอนแทคเลนส์
    เมื่อ​ได้​คอนแทคเลนส์​และ​ค่า​สายตา​ที่​เหมาะ​สม​กับ​คุณ​แล้ว​ ​ขั้น​ตอน​ต่อ​ไป​ผู้​เชี่ยว​ชาญด้าน​สายตา​จะ​ให้​คุณ​ลอง​ใส่​คอนแทคเลนส์​ ​เพื่อ​ดู​ว่า​คุณ​สามารถ​มอง​เห็น​ภาพ​ได้​คม​ชัด​หรือ​ไม่​ ​ใน​ขั้น​ตอน​นี้​ ​คุณ​สามารถ​สอบ​ถาม​วิธี​การ​ใส่​และ​ถอด​ ​หรือ​การ​ล้าง​คอนแทคเลนส์​ได้​ ​หาก​คุณ​เป็น​มือ​ใหม่
  4. สั่ง​ซื้อ​คอนแทคเลนส์
    หลัง​จาก​ได้​คอนแทคเลนส์​ที่​เหมาะ​สม​แล้ว​ ​คุณ​สามารถ​สั่ง​ซื้อ​คอนแทคเลนส์​ที่​ผู้​เชี่ยว​ชาญ​แนะนำ​ได้​ที่​ร้าน​แว่นตา​ ​หลัง​จาก​นี้​อาจ​จะ​มี​การ​นัดหมาย​ให้​มาตรวจ​สายตา​ประจำ​ปี​กับ​ทาง​ร้าน

เริ่ม​ใส่​คอนแทคเลนส์แอคคิววิว

ทดลอง​ใส่​คอนแทคเลนส์​ฟรี

สมัคร​สมาชิก​มายแอคคิววิว​ ​และทดลองคอนแทคเลนส์ฟรี​ ​ได้ที่ร้านแว่นตาที่ร่วมรายการใกล้บ้านคุณ

หาร้าน​ค้า​ใกล้​คุณ

ใช้แผนที่ของเราในการหาร้านแว่นตาใกล้คุณ​ ​ที่มีผลิตภัณฑ์ของแอคคิววิวจำหน่าย

หมาย​เหตุ

อ่าน​คำเตือน​ใน​ฉลาก​และ​เอก​สาร​กำ​กับ​เครื่อง​มือแพทย์​ก่อน​ใช้

คำ​แนะนํา ​การ​ใช้​เลนส์​สัมผัส​ควร​ได้​รับ​การ​สั่ง​ใช้​และ​ตรวจ​ติด​ตาม​ทุก​ปี​โดย​จักษุแพทย์​ ​หรือ​ผู้ประกอบ​โรคศิล​ปะ​โดย​อาศัย​ทัศน​มาตรศาสตร์​เท่านั้น

คำเตือน​ การ​ใช้​เลนส์​สัมผัส​โดย​เฉพาะ​อย่าง​ยิ่ง​การ​ใช้​ที่​ผิด​วิธี​มี​ความ​เสี่ยง​ต่อ​การ​อัก​เสบ​หรือ​การ​ติด​เชื้อ​ของ​ดวงตา​ ​อาจรุน​แรง​ถึง​ขั้น​สูญเสียตา​อย่าง​ถาวร​ได้

ข้อ​ห้าม​ใช้​ 1.​ห้าม​ใส่​เลนส์​สัมผัส​นาน​เกิน​ระยะ​เวลา​ใช้​งาน​ที่​กํา​หนด​ ​2.​ห้าม​ใส่​เลนส์​สัมผัส​ร่วม​กับ​บุคคล​อื่น​ ​3.​ห้าม​ใส่​เลนส์​สัมผัส​ทุก​ชนิด​เวลานอน​ ​ถึง​แม้​จะ​เป็น​ชนิด​ใส่​นอน​ได้​ก็​ตาม​ ​คว​รถอด​ล้าง​ทําความ​สะอาด​ทุก​วัน

ข้อควร​ระวัง​ 1.​ผู้​ที่​มี​สภาวะ​ของ​ดวงตา​ผิด​ปกติ​ ​เช่น​ ​ต้อ​เนื้อ​ ​ต้อลม​ ​ตา​แดง​ ​กระจกตา​ไว​ต่อ​ความ​รู้สึก​ลด​ลง​ ​ตา​แห้ง​ ​กระพริบตา​ไม่​เต็ม​ที่​ไม่​ควร​ใส่​เลนส์​สัมผัส​ ​2.​ควร​ใช้​น้ำยาล้าง​ ​เลนส์​สัมผัส​ที่​ใหม่​ ​และ​เปลี่ยน​น้ำยา​ฆ่า​เชื้อ​โรคสําหรับ​เลนส์​สัมผัส​ทุก​ครั้ง​ที่​แช่​เลนส์​สัมผัส​ ​และ​แม้​ไม่​ใส่​เลนส์​สัมผัส​ ​ควร​เปลี่ยน​น้ำยา​ใหม่​ใน​ตลับ​ทุก​วัน​ ​3.​ ​ควร​เปลี่ยน​ตลับ​ใส่​เลนส์​สัมผัส​ ​ทุก​สาม​เดือน​ ​4.​ไม่​ควร​ใส่​เลนส์​สัมผัสขณะ​ว่า​ย​น้ำ​ ​เพราะ​อาจทํา​ให้​เกิด​การ​ติด​เชื้อ​ที่​ตา​ได้​ ​5.​ล้าง​มือ​ฟอก​สบู่​ให้​สะอาด​ทุก​ครั้ง​ก่อน​สัมผัส​เลนส์​ ​6.​หาก​เกิด​อาการ​ผิด​ปกติ​ ​เช่น​ ​เจ็บ​หรือ​ ​ปวด​ตา​เป็น​อย่าง​มาก​ร่วม​กับ​อาการ​แพ้​แสง​ ​ตามัว​ ​น้ำตา​ไหล​มาก​ ​หรือ​ตา​แดง​ ​ให้​หยุด​ใช้​เลนส์​สัมผัส​ทันที​ ​และ​รีบพบ​จักษุแพทย์​โดย​เร็ว​ ​7.​ห้าม​ใช้​เลนส์​สัมผัส​ถ้า​ภาช​นะ​บรรจุ​อยู่​ใน​สภาพ​ชำรุด​หรือ​ถูก​เปิด​ก่อน​ใช้​งาน

ผู้น​ํา​เข้า ​บริษัท​ ​จอห์นสัน​ ​แอนด์​ ​จอห์นสัน​ ​เมด​เทค​ ​(​ประเทศ​ไทย​)​ ​จํากัด​ ​134/1​ ​ฉลอง​กรุง​31​ ​ลําปลาทิว​ ​ลาด​กระบัง​ กรุงเทพฯ​ ​105​20​ ​โทร​ ​001​ ​800​ ​156​ ​207​ ​8225

2024PP16759
ACUVUE
We support the AdvaMed Code of Ethics on interacting with Healthcare Professionals.
Advamed Logo
เว็บไซต์​นี้​เผย​แพร่​โดย​ ​บริษัท​ ​จอห์นสัน​ ​แอนด์​ ​จอห์นสัน​ ​เมด​เทค​ ​(​ประเทศ​ไทย​)​ ​จำกัด​ ​ซึ่ง​เป็น​ผู้​รับผิดชอบ​เนื้อ​หาบน​เว็บไซต์​นี้​แต่​เพียง​ผู้​เดียว​ ​เว็บไซต์​นี้​สำหรับ​ใช้​งาน​ใน​ประเทศ​ไทย