สายตายาวตามวัย...สาเหตุ อาการ และการแก้ไข
สายตายาวตามวัย คืออะไร?
เราทุกคนอาจเคยเห็นผู้ใหญ่บางคน หรือคนในครอบครัว ยื่นมือออกขณะอ่านหนังสือหรือใช้สายตาในระยะใกล้ อาการเหล่านี้เป็นผลมาจากปัญหาสายตายาวตามวัย จะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป เนื่องจากเลนส์ตาสูญเสียความยืดหยุ่น จึงทำให้ความสามารถในการปรับระยะโฟกัสลดลง ส่งผลให้การมองในระยะใกล้ไม่ชัด โดยเฉพาะในสภาวะแสงน้อย
สัญญาณและอาการของสายตายาวตามวัย
- มองเห็นไม่ชัดในสภาวะแสงน้อย
- ปวดหัว
- ตาล้า
- ไม่สบายตา ขณะอ่านหนังสือ
- ต้องการแสงสว่างขณะมองระยะใกล้
- ต้องปรับขนาดตัวหนังสือในโทรศัพท์มือถือให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
การตรวจและวินิจฉัย
หากคุณอายุ 40 ปี และกำลังสงสัยว่าคุณมีปัญหาสายตายาวตามวัย นักทัศนมาตรและผู้เชี่ยวชาญทางด้านสายตา สามารถทำการตรวจวินิจฉัยสายตาเอียง และการมองเห็นของคุณ ระหว่างการตรวจวัดสายตาประจำปี ทั้งนี้คุณควรแจ้งลักษณะ อาการเกี่ยวกับการมองเห็นที่ผิดปกติกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับการแก้ไขอย่างถูกต้อง
การแก้ไขปัญหาสายตายาวตามวัย
คอนแทคเลนส์แอคคิววิวสำหรับสายตามยาวตามวัย
การมองเห็นที่คมชัดในทุกระยะ
การออกแบบตามขนาดรูม่านตาธรรมชาติ
ขนาดรูม่านตาจะเปลี่ยนแปลงตามอายุที่เปลี่ยนไป คอนแทคเลนส์จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ขนาดรูม่านตาที่หลากหลาย เพื่อการมองเห็นที่คมชัด
คอนแทคเลนส์เพื่อความสบายตาตลอดวัน
การป้องกันรังสียูวี
คอนแทคเลนส์ของเราทุกรุ่น มีคุณสมบัติการป้องกันรังสียูวีที่ได้รับมาตรฐาน
เริ่มใส่คอนแทคเลนส์แอคคิววิว
หมายเหตุ
อ่านคำเตือนในฉลากและเอกสารกำกับเครื่องมือแพทย์ก่อนใช้
คำแนะนํา การใช้เลนส์สัมผัสควรได้รับการสั่งใช้และตรวจติดตามทุกปีโดยจักษุแพทย์ หรือผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยทัศนมาตรศาสตร์เท่านั้น
คำเตือน การใช้เลนส์สัมผัสโดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ที่ผิดวิธีมีความเสี่ยงต่อการอักเสบหรือการติดเชื้อของดวงตา อาจรุนแรงถึงขั้นสูญเสียตาอย่างถาวรได้
ข้อห้ามใช้ 1.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสนานเกินระยะเวลาใช้งานที่กําหนด 2.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสร่วมกับบุคคลอื่น 3.ห้ามใส่เลนส์สัมผัสทุกชนิดเวลานอน ถึงแม้จะเป็นชนิดใส่นอนได้ก็ตาม ควรถอดล้างทําความสะอาดทุกวัน
ข้อควรระวัง 1.ผู้ที่มีสภาวะของดวงตาผิดปกติ เช่น ต้อเนื้อ ต้อลม ตาแดง กระจกตาไวต่อความรู้สึกลดลง ตาแห้ง กระพริบตาไม่เต็มที่ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัส 2.ควรใช้น้ำยาล้าง เลนส์สัมผัสที่ใหม่ และเปลี่ยนน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสําหรับเลนส์สัมผัสทุกครั้งที่แช่เลนส์สัมผัส และแม้ไม่ใส่เลนส์สัมผัส ควรเปลี่ยนน้ำยาใหม่ในตลับทุกวัน 3. ควรเปลี่ยนตลับใส่เลนส์สัมผัส ทุกสามเดือน 4.ไม่ควรใส่เลนส์สัมผัสขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทําให้เกิดการติดเชื้อที่ตาได้ 5.ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสเลนส์ 6.หากเกิดอาการผิดปกติ เช่น เจ็บหรือ ปวดตาเป็นอย่างมากร่วมกับอาการแพ้แสง ตามัว น้ำตาไหลมาก หรือตาแดง ให้หยุดใช้เลนส์สัมผัสทันที และรีบพบจักษุแพทย์โดยเร็ว 7.ห้ามใช้เลนส์สัมผัสถ้าภาชนะบรรจุอยู่ในสภาพชำรุดหรือถูกเปิดก่อนใช้งาน
ผู้นําเข้า บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน เมดเทค (ประเทศไทย) จํากัด 134/1 ฉลองกรุง31 ลําปลาทิว ลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520 โทร 001 800 156 207 8225
2024PP12882